สถาบันสาธารณสุขและคลินิกเพื่อ ความเป็นเลิศแห่งชาติของอังกฤษ ได้กล่าวว่า ได้มีการวิจัยพบว่า ผู้ที่ใช้ยาซึ่งเรียกว่า ยายับยั้งโปรตอนปั๊มนานๆ จะมีส่วนเกี่ยวพันกับการเกิดกระดูกแตกหักในช่วงปลายของชีวิต และได้แนะนำว่าควรจะใช้ยาอยู่ในช่วงระยะนานระหว่าง 2-4 อาทิตย์ ยานี้ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเซลล์ ที่เรียกว่า โปรตอนปั๊ม ซึ่งผลิตกรดในกระเพาะ
ยา ให้ผลดี แต่ควรจะใช้เฉพาะช่วงระยะเวลาสั้นเท่านั้น หากแต่ผู้ที่มีอาการแสบแน่นอกหรือกระเพาะเรื้อรัง มักจะกินอยู่ประจำนานไม่ต่ำกว่า 2 เดือน ทำให้หลายคนต้องกินประจำ เพื่อไม่ให้เกิดไม่สบาย
แม้จะยังไม่อาจทราบได้ว่า เหตุใดยาไปทำให้ กระดูกเสียหาย แต่ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า การที่มันไปขัดขวางการสร้างกรด ได้ไปห้ามร่างกายไม่ให้ดูดซึมแคลเซียมไปด้วย
มหาวิทยาลัยเพนซิลเว เนียของสหรัฐฯ เคยศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2549 พบว่า ผู้ที่กินยายับยั้งโปรตอนปั๊ม นานเกินกว่า 1 ปี จะเสี่ยงกับกระดูกสะโพกแตกหักสูงถึงร้อยละ 44.
ถ้าเอ่ยถึงโรคกระเพาะทุกคนก็คงรู้จักเป็นอย่างดี ถ้าพูดถึงปวดท้องส่วนใหญ่คนมักจะว่าเป็นโรคกระเพาะ โรคนี้เกิดจากการที่มีกรดเกลือหลั่งลงไปในกระเพาะอาหารมากเกินไป อาจสืบเนื่องมาจาก ความเครียดของจิตใจหรือการกินอาหารที่ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารเข้าไป ทำให้เยื่อบุกระเพาะอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ อาการที่ปรากฏคือ ปวดเสียดท้องบริเวณเหนือสะดือ ซึ่งจะหายเมื่อกินอาหารเข้าไป และอาการปวดจะกลับเป็นขึ้นมาใหม่ภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจะทำให้อาเจียน บางครั้งมีเลือดปนออกมาและอุจจาระมีสีดำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ กาแฟ น้ำอัดลม อาหารรสเผ็ด เครื่องเทศ ตลอดจนบุหรี่
การรักษา โรคกระเพาะในระยะเริ่มแรกนี้สำคัญมาก มิฉะนั้นอาจจะทำให้มีอาการเลือดออกในกระเพาะหรือเป็นแผลในกระเพาะ แผลในกระเพาะจะดีขึ้นถ้าระมัดระวังในเรื่องการกินอาหารและเครื่องดื่ม ในทำนองเดียวกันความโกรธ ความเครียด หรือมีอาการทางประสาทจะทำให้แผลหายช้า ดังนั้นการพักผ่อนให้เพียงพอจึงจำ เป็นสำหรับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
ยาที่ใช้ในการรักษาจะต้องเป็นยาที่ ไปลดความเข้มข้นของกรดเกลือในกระเพาะอาหาร โดยระงับการหลั่งของกรดเกลือ หรืออาจจะไประงับการสร้างกรดเกลือก็ได้ ยาต่างๆ เหล่านี้ได้แก่ยาที่มีส่วนผสมของสารพวกอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมไบคาร์บอเนต สารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็น ด่างจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกรดเกลือ เป็นการลดปริมาณของกรดเกลือในกระเพาะอาหารได้ ส่วนยาไซเมติดีน (cimetidine) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยไประงับการสร้างกรดเกลือ
มี ผู้เข้าใจกันว่า ยาลดกรดเป็นยาไม่มีอันตราย แต่ความจริงแล้ว
การใช้ ยาลดกรดเป็นประจำอาจจะมี
อาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย และมีความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกายทำให้
อวัยวะบาง ระบบทำงานผิดปกติไป ปฏิกิริยาต่อกันของยาลดกรดกับยาในกลุ่มอื่นเมื่อใช้ร่วมกัน ซึ่ง
จะทำให้ ผลในการรักษาลดลง และการทำให้กระเพาะมีสภาวะเป็นด่างมากเกินไป ไม่เป็นผลนักเนื่องจากเอ็นไซม์ที่ช่วยในการย่อยโปรตีนจะถูกทำลาย และอาจมีกรดเกลือหลั่งมากในกระเพาะอาหารได้ภายหลัง
ยาลด กรดโดยทั่วไปมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1.สามารถทำให้สภาวะความเป็น ด่างของกระเพาะอาหารมากขึ้น
2.ออกฤทธิ์ได้เร็ว และระยะเวลาของการออกฤทธิ์มากกว่าครึ่งชั่วโมง
3.ไม่ทำให้เกิดการหลั่ง ของกรดภายหลัง
4.ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อภาวะสมดุลความเป็นกรด-ด่างใน ร่างกาย
5.ไม่ค่อยดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
6.มีผลกระทบต่อการย่อยและ การดูดซึมอาหารน้อยมาก
7.สามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้
8.ทำให้แผลใน กระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น
9.มีอาการข้างเคียงน้อย เมื่อใช้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
10.ราคาถูก และสะดวกต่อการใช้
ยา ลดกรดที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดได้แก่
1.สารประกอบพวก อลูมิเนียม เช่น อลูมิเนียมไฮดตอกไซด์ มีชื่อทางการค้าว่า อลูมิน (Alumin)โดยปกติแล้วค่อนข้างปลอดภัยในการใช้ แต่ถ้าใช้ในระยะเวลานานอาจเกิดอาการข้างเคียงได้คือ
ท้องผูก ราคาขายส่งคือ ขวดขนาด 8 ออนซ์ ราคา 18 บาท
2.สารประกอบพวก แมกนีเซียม เช่น แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ มิลด์
ออฟ แมกนีเซีย (Milk pf magmesia) มีคุณสมบัติในการลดกรดเกลือในกระเพาะอาหาร และใช้เป็นยาระบายได้ เนื่องจากอาการข้างเคียงของยาตัวนี้ คือ ทำให้ท้องเดิน นอกจากนี้ยังมีสารประกอบพวกแมกนีเซียมไตรซิลิเกต ซึ่งมักจะใช้ผสมกับยาลดกรดตัวอื่น ๆ เนื่องจากสารตัวนี้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารต่าง ๆ ได้ดี
3.สาร ประกอบโซเดียมไบคาร์บอเนต ออกฤทธิ์เร็วแต่อยู่ได้ไม่นาน จึงไม่ค่อยนิยมใช้ อาการข้างเคียงที่พบ คือ อาการบวมและความดันโลหิตสูง ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้ยานี้เป็นโรคไต หรือโรคหัวใจอยู่แล้ว อาจเกิดอันตรายได้ และไม่ควรใช้รักษาผู้ป่วยทีมีแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ถึงแม้ว่าจะรักษาได้ในตอนต้น แต่ภายหลังจากนั้นจะทำให้มีกรดเกลือหลั่งลงมาอีก ทำให้อาการเลวลง
4.ยา ลดกรดที่มีสารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกัน จุดประสงค์คือ ลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจาการใช้ยาลดกรดชนิดเดียว อัตราส่วนในการผสมนั้น อาจเป็นอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ต่อ แมกนีเซียมไฮดรอก
ไซ ด์ เท่ากับ 1:1 หรือ 2:1 ก็ได้
ยาที่มีสารอลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ผสมกับแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดคือ
อัล คาดอน (Alkadon)
อลูดร็อก (Aludrox)
แอนทาเซีย (Antacia)
มาลามิล (Malamil)
อลันแม๊ก (Alum-mag)
อลัมมิลค์ (Alum-milk)
มาลาล๊อก (Maalox)
ยาที่มีสารอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ผสมกับแมกนีเซียม ไตรซิลิเกต ได้แก่
อัลมินัม (Al-miumn)
อลูซิล (Alusil)
แก สมาจิน (Gasmagin)
อัลแม๊ค (Almag)
อลูทอป (Alutop)
เจลูซิล (Gelusil)
ยาที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ กับแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์โดยการเพิ่มสารเซมิไธโคน(Semithicone) ลงไป เพื่อลดการเกิดฟองของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เป็นการป้องกันไม่ให้สารละลายที่เป็นกรดล้นขึ้นไปถูกบริเวณหลอดอาหาร ชื่อทางการค้าของกลุ่มนี้ได้แก่
อัลแม๊กเซน (Almaxane)
มายซิล (Mylil)
แอนทาซิล (Antacil)
ไซมีโค (Simeco)
ขนาดของ ยาที่ใช้สำหรับยาลดกรดเหล่านี้ ถ้าเป็นยาชนิดแขวนตะกอนกินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อน
หรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง ส่วนยาเม็ดใช้ครั้งละ 1-2 เม็ด ก่อนหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมงเช่นกัน ราคา
ขายส่งของยาลดกรด ถ้าเป็นยาแขวนตะกอนราคาตั้งแต่ 16-30 บาท สำหรับขวดเล็ก ส่วนยาเม็ด
ราคา เม็ดละประมาณ 13-52 สตางค์
5.ยาไซเมติดีน(Cimetidine)
สาร ตัวนี้ทำหน้าที่ต้านการออกฤทธิ์ของฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารสำคับที่จะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดเกลือลงไปในกระเพาะอาหาร แต่ไซเมติดีนใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก และอาการแพ้อื่น ๆ ไม่ได้
อาการ ข้างเคียงของยาตัวนี้พบน้อย ที่พบคือ เวียนศีรษะ ท้องเดิน ผิวหนังเป็นผื่น ในผู้ชายอาจมีอาการเต้านมโตขึ้น การใช้ยาตัวนี้ในขนาดสูง ๆ อาจมีอาการสมองสับสนเกิดขึ้นได้
ข้อควรระวัง สำหรับการใช้ยาไซเมติดีน คือ
1.ยาตัวนี้สามารถซึมผ่านรกและเต้านมได้ ดังนั้นหญิงมีครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในระหว่างการให้นมลูกจึงไม่ควรใช้ แม้ว่ายังไม่มีรายงานถึงอันตรายของมันก็ตาม
2.ถ้าใช้ไซเมติดีนร่วม กับยาห้ามการแข็งตัวของเลือด ต้องระวัง เพราะยาตัวนี้มีผลในการออกฤทธิ์คล้าย
กับยากลุ่มนี้ด้วย
3.เนื่อง จากไซเมติดีนถูกขับออกจากร่างกายโดยทางไต จึงต้องลดขนาดของยาลงไปในผู้ป่วยโรคไต
ขนาดของยาไซ เมติดีนที่ใช้ในการรักษาคือ กินครั้งละ 1-2 เม็ด พร้อมอาหาร หรือหลังอาหารเล็กน้อย และก่อนนอน แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 3 เดือนไซเมติดีน 1 เม็ดที่มีปริมาณยา 200 มิลลิกรัม จะมีราคาขายส่งระหว่าง 3.50-8.50 บาท โดยมีชื่อทางการค้าดังนี้
บูรเมติดินา (Brumetidina)
ไซ เมท (Cimet)
ไซติดีน (Citidine)
ฟานิเมท (Fanimet)
ไซกาเมท (Sigamet)
อัลซิดีน (Ulcidine)
ไซดีน (Cidine)
ไซมิติน (Cimetin)
ไซ เทียส (Citius)
ไซอะมิดีน (Siamidine)
ทากาเมท (Tagamet)
ยาลด กรดอีกตัวหนึ่ง ที่กลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับยาไซเมติดีน คือรานิติดี น (Ranitdine) เนื่องจากตัวนี้เป็นยาใหม่ จึงยังไม่มีรายงานผลของอาการข้างเคียงมากนัก ขนาดของยาที่ใช้ในการรักษาคือ ครั้งละ 1 เม็ด เช้าและเย็น ชื่อทางการค้าของยาตัวนี้ คือ แซนแทค (Zantac) ข้อดีสำหรับยานี้คือ กินวันละ 2 ครั้ง ทำให้ลืมยาได้น้อย
6.ยา ซูครัลเฟต (Sucralfate) ที่รู้จักในนามของอัลเซนิค (Ulsenic) สารตัวนี้จะไประงับการทำงานของน้ำย่อยและไปเคลือบที่ผิวของกระเพาะอาหาร เป็นการขัดขวางการกระจายของกรดเกลือและบรรเทาอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ได้ ยาตัวนี้ใช้ได้ผลดีพอ ๆ กับ ไซเมติดีน แต่อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น คือ ท้องผูก ขนาดของยาที่ใช้ในผู้ใหญ่ คือ ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง กินก่อนอาหารและก่อนนอน
ยาลดกรดชนิดแขวนตะกอนและชนิดเม็ด มีคุณสมบัติในการลดกรดได้เหมือนกัน โดยการใช้ยาเม็ดนั้นควรจะเคี้ยว ให้ละเอียดก่อนกลืน ควรคำนึงถึงช่วงเวลาของการใช้ยาด้วย ถ้า ต้องการเพียงแค่บรรเทาอาการปวดก็ใช้ได้ทันทีที่มีอาการ แต่ถ้าต้องการให้แผลในกระเพาะอาหารดีขึ้น ควรกินในขณะที่มีอาหารอยู่ในกระเพาะ หรือหลังอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง ยาจะออกฤทธิ์นานขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยนั้นได้ ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารควรกินอาหารให้เป็นเวลา งดอาหารรสจัด จะเป็นการช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ส่วนการจะเลือกใช้ยาตัวไหนรักษานั้น ควรคำนึงถึงราคายาด้วย ซึ่งยาที่มีราคาแพง ไม่จำเป็นจะต้องรักษาได้ผลดีกว่ายาราคาถูกเสมอไป
Recipes95-for you
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
mayyo/miwcasa/fashions-health