วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องของกระดูก


โครงกระดูกมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกจำนวน 206 ชิ้นของส่วนต่างๆ ใน ร่างกายมาเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อนและอวัยวะต่างๆ ทารกแรกเกิดนั้นจะมีกระดูกประมาณ 300-350 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต
กระดูกมีหน้าที่ค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ สำหรับการเคลื่อนไหว อีกทั้งป้องกันอวัยวะภายในจากการกระทบกระเทือน เช่น กะโหลกศีรษะ รวมถึงเป็นแหล่งเก็บสะสมของแคลเซี่ยมในร่างกายอีกด้วย

โรคกระดูกที่จัดได้ว่าร้ายแรง คือโรคกระดูกพรุน ประชากรกว่า 75 ล้านคน ต้องเผชิญกับโรคกระดูกพรุน โดยมีภาวะของเนื้อกระดูกบางลง มีความหนาแน่นน้อยลงทำให้มีโอกาสแตกหัก หรือยุบตัวได้ กระดูกที่ปกติจะมีโครงสร้างเส้นใยที่มีโพรงเป็นตาข่ายในเนื้อกระดูก เมื่อเกิดภาวะกระดูกพรุนโพรงระหว่างเส้นใยจะใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดการแตกของกระดูกได้ง่าย
ข้อมูลด้านล่างนี้สามารถเป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณมีความเสี่ยงในภาวะ โรคกระดูกพรุนหรือไม่
ผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่มีอายุมากขึ้นจะทำให้ระดับมวลกระดูกลดลงอย่างช้าๆ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
  • ผู้ที่มีอายุเกิน 40ปี ขึ้นไป และเคยมีประวัติการหักหรือแตกของกระดูก
  • จากพันธุกรรม หรือ บุคคลในครอบครัวที่มีประวัติของโรคกระดูกพรุน กระดูกสะโพกแตก หรือหัก
  • ผู้ที่มีลักษณะเชื้อชาติหรือกลุ่มชน เช่น ชาวผิวขาว ชาวผิวเหลืองในทวีปเอเซีย โดยเฉพาะในผู้หญิง
  • ผู้ที่รับประทานยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง ที่มีผลข้างเคียงต่อกระดูก เช่น ยาสเตียรอยด์
ข้อแนะนำในการตรวจวินิจฉัยจาก National Osteoporosis Foundation* มีดังนี้
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป

  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี และมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูก
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่หยุดรับประทานฮอร์โมน หรือการบำบัดด้วยฮอร์โมน หรือมีระดับเอสโตรเจน (Estrogen) ต่ำ
  • ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 50 ถึง 70 ปี และมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูก
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และเคยมีประวัติกระดูกหัก

การตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกมีดังนี้
ในหลายปีที่ผ่านมานั้น ความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยมวลกระดูกไม่ค่อยพร้อมเท่าใดนัก โดยจะพบว่า ผู้ป่วยจะมีภาวะของโรคกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการกระดูกหักจากอาการ บาดเจ็บมาก่อน
แต่ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ได้มีเครื่องมือวัดความหนาแน่นของกระดูกหรือ Bone D XA scan (Dual Energy X-ray Absorptiometry) เป็นเครื่องมือ
เอ็ก ซเรย์ระบบ 2 พลังงานที่ใช้ในการประเมินผลว่า ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด รวมถึงสามารถวัดระดับของแคลเซียมและโปรตีนได้อีกด้วย การตรวจวินิจฉัยนั้นยังสามารถตรวจบริเวณกระดูกที่อาจมีความเสี่ยง เช่น
  • กระดูกสันหลัง
  • กระดูกบริเวณสะโพก
  • กระดูกบริเวณข้อมือ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวางแผนการรักษาหลังจากที่ได้มีการคำนวณ เปรียบเทียบกับค่ามาตราฐาน โดยมีวิธีดังนี้
  • เครื่องมือวัดความหนาแน่นของกระดูก DXA ใช้ในการตรวจเพื่อหามวลกระดูกดูความแน่นหนาของกระดูกโดยเฉพาะบริเวณกระดูก สะโพก
    กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ ซึ่งการตรวจจะสามารถช่วยป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับกระดูกได้ โดยเฉพาะอันตรายที่เกิดจากการ
    กระดูกหักโดยการหกล้มเพียงเล็กน้อยเท่า นั้น การตรวจวิธีนี้ผู้ป่วยต้องนอนราบกับเตียงโดยมีเครื่องแสกนบริเวณจุดที่มี ความเสี่ยง
  • เครื่องมือวัดความหนาแน่นของกระดูก แบบพกพา เครื่องมือวัดชนิดนี้ ใช้ในการตรวจมวลกระดูกภายนอก เช่นบริเวณนิ้วมือ ข้อมือ และส้นเท้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิธีนี้มีราคาไม่แพง ตรวจง่าย และรวดเร็ว
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะสร้างแคลเซียมน้อยลง ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้กระดูกขาดความแข็งแรง เปราะบาง จนเป็นโรคกระดูกพรุน ดังนั้นเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกจะสามารถตรวจเช็คปริมาณความหนาแน่น ของกระดูก และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสามารถวางแผนป้องกันและรักษาโรค
กระดูก พรุนได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลจาก:http://www.bangkokhospital.com
Recipes95-for you

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

mayyo/miwcasa/fashions-health

@ คุณค่าทางโภชนาการ @

Recipes95-for you Headline Animator